Monday, October 18, 2010

ข่าวสารด้านการศึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

โรงเรียนบ้านท่าเมือง
โรงเรียนดีประจำตำบล สพฐ.ต้องร่วมมือกับ อปท.ซึ่งความจริงมีการกระจายอำนาจ มาตั้งนานแล้ว แต่เป็นการกระจายในระดับบน ยังไม่ถึงท้องถิ่น ทำให้ไม่สามารถพัฒนาคุณภาพได้อย่างแท้จริง ดังนั้น โครงการโรงเรียนดี ประจำตำบล จึงเป็นเรื่องท้าทายที่จะทำให้ตอบโจทย์ดังกล่าวได้ โรงเรียนเป็นองค์กรทางการศึกษาที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาคุณภาพนักเรียน แนวคิดในการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนจึงเป็นความสำคัญสูงสุดในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาโรงเรียนในท้องถิ่นชนบท ซึ่งนักเรียนส่วนมากมักด้อยโอกาสในการเข้าเรียนในโรงเรียนที่มีคุณภาพ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้กำหนด นโยบายการพัฒนาโรงเรียนคุณภาพในท้องถิ่นชนบท เพื่อให้มีความเพียบพร้อมที่จะเป็นต้นแบบหรือศูนย์สาธิตการให้บริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพ ตลอดจนเป็นแหล่งการเรียนรู้ของชุมชน ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมและมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ เชื่อมั่นและศรัทธาในการปฏิบัติงานของโรงเรียนและไม่จำเป็นต้องส่งบุตรหลานไปเรียนในเมือง โดยโรงเรียนและชุมชนสามารถจัดกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ ให้บริการและเชื่อมความสัมพันธ์กับชุมชนได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
026 028
เป้าหมาย
        สำหรับการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ.2553 ซึ่งเป็นปีแรก ได้กำหนดโรงเรียนเป้าหมายจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาละ 1 โรงเรียน (1 ตำบล 1 โรงเรียน) เพื่อเป็นโรงเรียนดีต้นแบบระดับตำบล
รูปแบบการพัฒนา
1.เป็นโรงเรียนที่มีมาตรฐานคุณภาพระดับสูง มีความเข้มแข็งทั้งทางด้านวิชาการ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ดนตรี กีฬา และศิลปะ
2.โรงเรียนมีความพร้อมด้านกายภาพ ทุกโรงเรียนได้รับการสนับสนุนที่เหมือนกัน คือ การปรับปรุงภูมิทัศน์ต่าง ๆขั้นมาตรฐาน
มีความสะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย มีการสนับสนุนการก่อสร้างอาคารเรียนตามจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้น
3.เป็นโรงเรียน “ทำมาหากิน” ที่เน้นการพัฒนาพื้นฐาน
ด้านอาชีพและการมีรายได้ระหว่างเรียน
4.เป็นโรงเรียนชุมชนที่มีความร่วมมือกับท้องถิ่นและบริการชุมชนอย่างเข้มแข็งสภาพความสำเร็จ
1.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับสูง ไม่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 5 กลุ่มสาระหลัก ได้แก่วิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์สังคมศึกษาและภาษาอังกฤษ
2.โรงเรียนสร้างวัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตประชาธิปไตยอย่างเข้มแข็ง และไม่มีปัญหายาเสพติด
3.โรงเรียนมีความร่วมมือกับชุมชน มีการประสานงานกับผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนที่อยู่ใกล้เคียงและมีการประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเข้มแข็ง
4.นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีสำนึกความเป็นไทย มีความรู้และทักษะพื้นฐานด้านอาชีพ มีความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ระดับสูง และมีสุขภาพพลานามัยดี
5.นักเรียนมีความรู้และทักษะอย่างดีด้านภาษาอังกฤษ หรือภาษาที่สองอื่น ๆ ตามความสนใจหรือความถนัด
กิจกรรมดำเนินการสำคัญ
1.จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างเข้มข้น โดยจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตเน้นการอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น เป็นทักษะพื้นฐานของนักเรียนทุกคน การเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริงและเน้นการคิดวิเคราะห์ด้วยการเรียนแบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา(Problem Based Learning)
2.พัฒนาปัจจัยพื้นฐานได้แก่ การพัฒนา จัดหาสื่อวัสดุอุปกรณ์ และจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ สะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย เพื่อการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ จึงจัดหาคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง ต่อนักเรียน 10 คน มีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง จัดห้องสมุด3ดีมีสระว่ายน้ำหรือศูนย์กีฬา(Sport complex)นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ดนตรี กีฬาแลtศิลปะ      
3.บริหารจัดการบุคลากรครู และผู้บริหารโรงเรียนดีต้นแบบระดับตำบลอย่างเหมาะสม เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายภาพความสำเร็จที่กำหนดไว้      
4.จัดเครือข่ายกับโรงเรียนอื่น ๆ เพื่อความร่วมมือ และช่วยเหลือกันทางวิชาการ เพื่อทำให้เกิดระบบการใช้ทรัพยากรร่วมกันให้ได้มากที่สุด
5.เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนในรูปแบบต่าง ๆ ต้องทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้มีความมุ่งมั่นร่วมกัน เกิดความร่วมมือกันในระดับท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยความร่วมมือดังกล่าวรวมถึงการแสวงหาความร่วมมือจากภาคเอกชนมาสนับสนุนเพื่อสร้างความเชื่อมโยงไปสู่ความรักในท้องถิ่นต่อไป
030 031 032
        การทำ MOU เพื่อให้ท้องถิ่นสามารถช่วยรับส่งเด็กมาโรงเรียนได้ ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ถูกต้อง นอกจากนี้ เพื่อการสนับสนุนดูแลนักเรียนและการส่งเสริมความร่วมมือของเครือข่ายผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์กรภาครัฐและเอกชน เช่น สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถานประกอบการ เป็นต้น
6.ดำเนินการตามระบบประกันคุณภาพภายในอย่างเข้มแข็ง เพื่อให้เห็นถึงความก้าวหน้าของการพัฒนาสู่โรงเรียนคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
เกณฑ์การคัดเลือกโรงเรียน
1.เป็นโรงเรียนที่สอนระดับประถมศึกษาหรือโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา หรืโรงเรียนมัธยมศึกษาระดับตำบล
2.โรงเรียนมีบริเวณพื้นที่กว้างขวางเพียงพอต่อการจัดหรือพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ตาโครงการ
3. ผู้บริหารโรงเรียนมีความมุ่งมั่นและมีศักยภาพอย่างสูงในการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วม 4.โรงเรียนตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีการคมนาคมสะดวก และเป็นศูนย์กลางระหว่างโรงเรียนด้วยกันและระหว่างชุมชน
5.โรงเรียนมีพื้นฐานความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน
การดำเนินงาน
1.คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ดำเนินโครงการโรงเรียนดีประจำตำบล เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2553
2.ได้คัดเลือกโรงเรียนเข้าร่วมโครงการแล้ว จำนวน 182 โรง
3.จัดกลุ่มโรงเรียนตามศักยภาพบริบทความพร้อมเพื่อพิจารณาสนับสนุนงบประมาณ
4.จัดสรรงบประมาณพัฒนาโรงเรียนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 จำนวน 1,717.363 ล้าบาท
นอกจากนี้ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดแนวปฏิบัติให้หน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้
   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.)
●ส่งเสริมให้มีการทำ MOU ให้เร็วที่สุดเพื่อให้ อบต.ช่วยรับ-ส่งนักเรียนระหว่างบ้านถึโรงเรียน
●ทำ School Mapping ให้เห็นโครงสร้างประชากรในตำบลซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นในการทำแผนบุคลากรได้
●เร่งรัดการจัดซื้อจัดจ้างให้รวดเร็วโรงเรียนและนายก อบต.
●ทำข้อตกลงความร่วมมืออย่างชัดเจน
●ทำความเข้าใจกับชุมชนให้เห็นความสำคัญ
●ร่วมมือด้านพัฒนาโรงเรียนโดยเฉพาะด้านกายภาพ
   ทั้งนี้ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จะผลักดันให้มีโรงเรียนดีประจำตำบลให้ครบทุกตำบล จำนวน 7,409 แห่ง ภายในเดือนตุลาคม 2553
 งบประมาณ
  ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ใช้งบประมาณ จำนวน 1,717.363 ล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างการทำรายละเอียดเพื่อจะจัดสรรงบประมาณให้แต่ละโรงเรียนตามโครงการต่อไป โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1.งบดำเนินงาน เป็นค่าวัสดุการศึกษา จำนวน 55 ล้านบาท ได้แก่ สื่อหนังสือห้องสมุด วัสดุอาชีพ การสื่อสารนโยบาย การประชาสัมพันธ์โครงการ
2. งบลงทุน จำนวน 1,662.363 ล้านบาท ประกอบด้วย
1)ค่าครุภัณฑ์ประจำห้องเรียนและห้องปฏิบัติการ จำนวน 418.60 ล้านบาท             
2)ค่าสิ่งก่อสร้าง จำนวน 1,243.763 ล้านบาท ได้แก่
การปรับปรุงซ่อมแซมหรือสร้างอาคารเรียน อาคารประกอบ อาคารศูนย์กีฬา/สระว่ายน้ำและสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ
033
จาก www.chinnaworn.com/

No comments:

Post a Comment